หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2555

Pips และ Symbols




เหตุผลที่ผมเขียนเรื่องนี้เพราะว่า ตามเวบยังอธิบายไม่เคลียร์ เยอะครับ สำหรับบีกินเนอร์ผมคิดว่า ก็ควรจะรู้ไว้ เพราะบางคน งง กับการคำนวน 


Pips และ Symbols

บางคนออกเสียง พิพ บางคนออกเสียง ปิป แต่ไม่ว่าออกเสียงยังไง มันก็คือ จุดทศนิยมที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น EUR/USD ที่ราคา

1.3000  เปลี่ยนแปลงไปเป็น 1.3005 จะเห็นว่าที่เปลี่ยนแปลงไปคือ 0.0005 หมายความว่า pips change คือ 5 pips และ 

EUR/USD ยังบ่งบอกเราอีกว่า เงิน EUR มีค่ามากกว่า USD 1.3 เท่า

ยกตัวอย่างสมการง่ายๆ   EURหารUSD = 1.3000    ------>   EUR  =  1.3000 USD   ก็คือ 1.3 เท่าของ USD นั่นเอง คู่เงินอื่นๆ ก็เหมือนกัน
กลับมาที่ pips ต่อ ในค่าเงิน EUR/USD  นั้น การเปลี่ยนแปลง 5 จุดข้างต้นมาจาก

EUR/USD มีจุดทศนิยมทั้งหมด 4 ตำแหน่ง หรือก็คือ 10-4  = 0.0001  นั่นเอง

เรานำทศนิยมมาหารด้วยราคา (ใส่หน่วยด้วยจะได้ไม่ งง )  0.0001euro หาร 1.3000dolla = 0.0000769 ยูโรต่อดอลล่า

สรุปง่ายๆก็คือ การเปลี่ยนแปลง 1 pips มีค่า 0.000077 ยูโรนั่นเอง แต่หากว่าปกติเรามักจะคุ้นเคยกับค่าเงิน ดอลล่ามากกว่า 

เราก็แค่เอา อัตราแลกเปลี่ยนตอนนั้นมาคูณซะ เพราะมันเป็นอัตราส่วนกันอยู่แล้ว ก็จะได้

 0.000077 x 1.3 = 0.0001 โดยประมาณ นั่นเอง

ยกตัวอย่างค่าเงินอื่นบ้าง

USD/JPY ที่  82.00     มีทศนิยม 2 ตำแหน่ง ก็เป็น  0.01 / 82.00 = 0.00012 ดอลล่า/เยน

เนื่องจากค่าที่ได้ออกมาเป็นดอลล่าอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องคูณ 82.00 ไม่งั้นจะเดี่ยวกลายเป็นเยนแทน

มาถึงตรงนี้ บางคนก็จะสงสัยว่า แล้วถ้าเป็น ตัวอื่นที่ไม่มี usd มาจับ จะทำไงให้เป็น ดอล เช่น EUR/JPY

101.00  ก็คือมีทศนิยม 2 ตำแหน่งใช่ไหม ก็เหมือนเดิม 0.01/101 = 0.0001 ยูโร/เยน โดยประมาณ จากนั้นเราก็จะได้เป็น

หน่วยยูโรมา เราก็ต้องไปดูอัตราแลกเปลี่ยนเงินตัวอื่นว่า ตัวที่มี EUR เป็นตัวเศษ แล้ว USD เป็นตัวหารตอนนั้นเป็นเท่าไหร่

เพราะว่า มัน 1:1.3 ไง ก็คือ 1.3 ดอลล่าถึงจะแลก 1 ยูโรได้ เพราะฉะนั้นถ้าเอา เงินยูโรตอนนั้นคูณ อัตราแลกเปลี่ยนซะ ก็จะ

กลายเป็นเงินดอลไปโดยปริยาย สมมติ 1.3000 ก็จะได้ 1.3 x 0.0001 = 0.0013 ดอลล่า นั่นเอง ถ้า งง ก็นึกถึงเงินบาท กับ 

เงินดอล เช่น USD/THB = 33.00 ก็คือ เงิน 33 บาทแลกได้ 1 ดอล เพราะฉะนั้น ถ้าเอา 33 นี้ไปคูณกับ ตัวอะไรก็ตามที่มีหน่วย

เป็น USD เราก็จะได้ค่าเงินหน่วยบาทมาเลย  ถ้า งง อยู่ก็... คงต้อง งง อ่ะ - -


วันเสาร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2555

Type Stop lose





หลายคนก็คงรู้จักว่า การ sl คืออะไร 

หลายๆคนก็ต้องผ่านกันมาอย่างแน่นอน โดยเฉพาะ beginner

การ sl ของผมจะแบ่งออกเป็น 3 ชนิด

1. normal stoplose
2. reversal stoplose
3. cut order


แบบที่ 1 คือการ sl แบบปกตินะครับ ก็เหมือนทั่วๆไป คือเราเทรดปกติ ถ้าผิดทางเราก็ตัดทิ้ง

แล้วรอเข้าใหม่เมื่อมีโอกาสตามสัญญาณจากระบบของเราอีกรอบ

แบบที่ 2 คือการ sl แล้วกลับตัวครับ

การ sl แล้วกลับตัวจะอาศัย เข้า order ที่จุดที่เราคิดว่าจะเปลี่ยนเทรนทันที เมื่อ order เรา sl

ยกตัวอย่าง เรา buy ไว้ใช่ไหมครับ แล้วราคาได้ลงมาต่ำกว่าจุดที่เราบาย และเราคิดว่า 

ราคาจะไม่ขึ้นอีกต่อไปแล้ว เราต้อง sl  พอเรา sl ปั๊บ เราจะไม่ปล่อยทิ้งไว้เหมือนอย่างแรก

ก็คือ เราจะทำการเปิดอีก order ทันที คือการ sell 

 โดยการ sell ของเราอาจจะเพิ่ม lots ในการเข้า เพื่อเอาทุนที่เสียของเรากลับคืนมา และ พร้อมกำไร

พูดให้เห็นภาพง่ายๆก็คือ การที่เราเทรดแบบนี้ ยังไงเราก็ไม่เสียตังค์ครับ

ถ้าเรามีระบบที่กลับตัวได้

เพราะว่า ไม่ว่าเราจะ sl กี่ครั้งเราก็จะได้เงินทุนของเราคืนเนื่องจากการกลับตัวทุกครั้ง

 การ sl แบบที่ 2 นี้จึง อิง กับระบบมาก 

แบบที่ 3 การตัดออเดอร์ทิ้ง  เช่น เราบาย แต่ราคาได้ลงมาต่ำเกินกว่าที่คิดไว้นิดหน่อย

เราก็อาจจะปิดไปก่อน แล้วรอ ลมพายุสงบ ค่อยเข้า บายอีกครั้งนึง แต่เพิ่ม lots ขึ้น

ถามว่ามันต่างจากการ sl อันแรกตรงไหน ต่างครับ

สำหรับคนที่ลง lots หนักๆ เราจำเป็นมากที่จะต้องเซพเงินไว้

แม้เราจะเชื่อว่ากราฟจะขึ้น หรือ จะลง แต่ตลาดจะมีการ extension เสมอ

 เราอาจจะใช้จุดนี้ในการควบคุมความเสี่ยงอีกวิธีได้ แต่แน่นอนว่า เราก็ต้องระวัง เพราะมันจะเป็นดาบสองคม หากเราตามอารมณ์ตลาดไม่ทัน


















วันเสาร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2555

~3M สามอย่างที่เแยกออกจากกันไม่ได้

วันนี้ผมจะพูดสิ่งที่สำคัญที่สุดในตลาดครับ

หลายคนอาจจะเคยเห็นตามเวบต่างๆว่า

อะไรสำคัญกว่าอะไร เท่าไหน อย่างไรในตลาด

วันนี้ผมจะพูดแบบของผม และ ให้ทุกคนลองครับ ว่าจริงไหม??

ความสำคัญในการเทรดผมแบ่งจาก 100% เป็นย่อยๆดังนี้

Medthod 10%
Money Management 20%
Mind 70%

อธิบายก่อนครับ ทำไมผมถึงให้ Medthod (วิธีการเทรด) แค่ 10%

เปรียบเทียบกับคุณลองโยนเหรียญครับ % มันคือ 50 50 ไม่หัวก็ก้อย

ถ้าใช้ money mamagement เข้ามา เงินคุณก็จะมี แต่เพิ่มๆ ตามที่ผมได้เคยอธิบายไว้ในหัวข้อ Poker

ผมขอเขียนใหม่ตรงนี้เลยนะครับ

เช่นคุณมีระบบเทรด  7/3   win/lose

ก็คือ เทรด 10 ครั้ง ชนะถึง 7 ครั้ง

ถ้าเราลง Lot เท่ากันหมด ระยะยาวเราก็ได้อยู่แล้วถ้าเราทำตามระบบ นี่เป็นคอมมอนเซ็นต์แบบง่ายๆ

แต่ผมจะเอา MM เข้ามาเกี่ยวด้วยครับ

อันดับแรกทำไมคนถึงเสีย ลองมองภาพก่อนว่า

ถ้า Lot ไม่เท่ากัน เทรด 7 ครั้ง Lot 0.1  กับเทรด 3 ครั้งที่เสีย Lot 1.0 

เสียแค่ 3 ครั้งก็หมดแล้วครับกำไร อาจจะทั้งทุนด้วย

เพราะฉะนั้น ระบบ ไม่สำคัญเท่า MM ครับ นี่คือสิ่งที่ถูกต้องที่สุด

แบบนี้ Mind ก็ไม่เกี่ยวเลยหน่ะสิ?

เกี่ยวครับ ถ้าเป็น Forex เกี่ยวแน่

Mind คือ จิตใจ หรือเรียกว่า อารมณ์ในการเทรด ก็ได้

มองง่ายๆ " เงิน "

เทรดเดอร์หน้าใหม่ เวลาเข้า order ที นั่งสั่น พลับๆๆๆ

ด้วยเหตุเพราะว่า  " ความกลัว"  กลัวอะไร กลัวเสียเงิน

เพราะฉะนั้นอยากให้เข้าใจตรงนี้เลยว่า

เงินที่คุณจะเอามาเล่น forex ต้องเป็นเงินเย็น คือ

เป็นเงินที่่ถ้าเสียไปแล้ว ก็จะไม่มีปัญหาในการดำเนินชีวิตของคุณ ที่เรียกว่า"เงินเย็น"

เช่น เงินออมที่แบ่งมา เงินจากการหยอดกระปุก ที่คุณยอมเสียมันไปได้

ถ้าเราเข้าใจแล้วว่า ที่มาของเงินมีส่วนสำคัญในการเทรดให้ชนะตลาดได้ เพราะตลาดมีความเสี่ยงมาก

เราก็้ต้องแยกเงินออกไว้

ถ้าเรายอมรับความเสี่ยงได้แค่ 30% ก็หมายความว่า จาก 100 เสีย 30 ก็ต้องหยุด นี่เรียกว่าการลงทุน

แต่ถ้าสมมติว่า จาก 100 ยอมเสีย 100 เลย แบบนี้เรียกว่า การพนัน จริงไหมครับ?

ถ้าเราเข้าใจแล้วว่า เงิน (Money) ของเราเป็นเงินเย็น เราก็จะเทรดได้สบายใจขึ้น (มาก)

คุณแทบจะคิดว่ามันเป็นเงิน DEMO เลยล่ะ  ยิ่งไปกว่านั้นคุณจะตัดอารมณ์

" กลัว "  

ออกไปจากใจคุณอย่างสิ้นเชิงสรุป

แต่ความกลัว ก็มีข้อดีของมันเหมือนกัน 

คือ ความกลัวที่จะไม่ทำตามระบบ และนำมาซึ่งความเสียหาย นั่นเอง

แต่ Mind ไม่ได้มีแค่นั้น Mind นั้นแบ่งออกเป็น 1.กลัว(กล่าวไปแล้ว)    2.โลภ

ความโลภ เราจะจัดการมันได้ยังไง??

1 เลยคือ เราต้องเข้าใจเรื่องของ Risk (ความเสี่ยง)

ตลาด Forex ความเสี่ยง 100% ครับ ได้เสีย มันเท่ากัน 10 จุดได้ กับ 10 เสีย ในออเดอร์เดียวกัน มันเท่ากัน

นี่ยังไม่รวม spread อีกนะ ถ้ารวมก็จะได้ว่า 

[100% + Spread x100 = Risk]

ง่ายๆว่า ถ้าเราเล่น lot เดียวกันหมด TP 30 SL 30 ระบบ 50% 

 เราเสียแน่ครับ เพราะเสีย spread ทุก order  สมมมติ spread 2

5 oder win = 30x5 = 600  pips

5 order lose = (5 x 30) +(spread x จำนวนออเดอร์) = 600 + (5x2) = 610 pips

เราแพ้เพิ่มอีก 10 pips ครับ กลายเป็นว่า sl เรา 32 pips

นอกจากเราจะใช้ TP 34 pips เพราะว่า 34 - spread = 32 

เมื่อเรารู้ว่าตลาดมันมีความเสี่ยงสูงแบบนี้ สิ่งที่เราทำได้ดีที่สุดคือ

การกำหนดแผนการเทรดแต่ละวัน

เช่น วันนี้จะเอาเท่าไหร่  อาทิตย์นี้กำไรเท่าไหร่ หรือ เดือนนึงต้องกำไรเท่าไหร่

ผมจะเปรียบเทียบแบบนี้นะครับ

ถ้าเราเดินทางจาก กทม. ไป เชียงใหม่

แบ่งนักเดินทางออกเป็น 2 กลุ่ม

กลุ่มแรก ไม่มีแผนที่ กลุ่มที่สองมีแผนที่

แค่นี้ก็แตกต่างกันแล้วครับ

กลุ่มแรกก็เดินมั่ว ไม่รู้แม้แต่ว่าตอนนี้เราอยู่ที่จุดไหนแล้ว จ. ไหนแล้ว

ต่างจากกลุ่มสอง ตอนนี้ถึง จ. นี้แล้ว ต่อไป ชั้นควรจะไปทางนี้นะ

ถ้าเจอเส้นทางที่ไปไม่ได้ ก็รู้ว่ามีเส้นทางอื่นไปได้อีก เพื่อจุดมุ่งหมายเดิม

เมื่อเรามีแผนแล้ว และ เชื่อ!! ว่าคุณทำตามแผนได้ คุณก็จะ กำจัด ความโลภออกไปได้ครับ

เพราะเงินที่คุณเอามา มันก็เป็นเงินเหลือ จาการที่คุณไม่ได้ใช้ทำอะไรอยู่แล้ว

ถ้าเอามาทำกำไรได้งอกเงย สัก 10% มันก็คุ้มแล้ว สำหรับเงินส่วนนั้น 

สรุป  ทั้ง 3 M  ด้านบนมันเชื่อมโยงกันอย่างแยกไม่ออก  จริงไหม.... 







วันพฤหัสบดีที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2555

~มาชำแหละทฤษฏีดาวกัน ตอนที่ 6 ประยุกต์



สำหรับตอนนี้ ผมจะพูดถึงการรวมทฤษฏีดาวแล้วนะครับ

ก็คือเอาทฤษฏีดาวมาดูกราฟจริงครับ

อันดับแรกผมอยากให้มองกราฟในมุมกว้างก่อน

เราจะเห้นการทำ HH - HL ในช่วงที่ 1-->2

ช่วงนี้เราเรียกว่าเป็น primary เทรนเลยได้ในช่วงแรกครับ

แต่เมื่อราคาตัดเทรนไลน์ลงมารีเทรคเม้นที่ 61.8 โดยประมาณนะครับ

เราจะเรียกมันว่า minor trend แทน แต่?

เราจะรู้ได้ไงว่ามันลงมารีเทรค เพราะกราฟปัจจุบันใครๆอาจจะคิดว่ามันเปลียนแนวโน้ม

เราสามารถเชคได้ตามทฤษฏีดาวครับ ไม่ใช่ตัดเทรนไลน์นะ

โดยการลาก fibonacci retracment จุดที่ยังเรียกว่าเทรนที่ดาวบอกมีอะไรบ้างครับ

1/3 1/2 2/3 ใช่ไหมครับ กรณีนี้ผมจะใช้ 61.8 ละกันครับ จะได้พอดีกับตัวเลขของ fibonacci (มันรก - -)

แสดงว่า 61.8 นั้นเป็นแนวรีเทรคเม้นสุดท้ายที่จะบอกได้ว่านี่ยังเป็นเทรนขึ้นอยู่ จริงไหมครับ

แล้วเวลาเราเทรดจริงจาไปรู้ได้ไงว่ามันจาขึ้นจากตรงไหน มีตั้ง 3 ด่าน??

เราไม่รู้หรอกครับ 555 

จนกว่ามันจะนิวไฮครับ ในเมื่อเราไม่รู้ แต่มีสิ่งนึงที่เราเชื่อว่าใช่คือ

มันยังเป็นเทรนขึ้นครับ เพราะฉะนั้นเราก็ควรคำนึงเสมอว่า

เทรนมันขึ้นอยู่ และ แน่นอนนี่อาจคือการรีเทรคเม้น

เมื่อราคาขึ้นไปนิวไฮอีกครั้ง Primary trend จะเปลี่ยนไป โดยใช้เส้นสีแดงแทนนะครับ

ส่วนอันเก่าจะกลายเป็น minor trend เพราะมันตัดลงมามากแล้วจนไม่อาจเรียกว่า extension ได้

ก็เปลี่ยนซะครับ ตามรูป

โอเค ใคร งง โพสถามได้เลยครับ

ต่อไปอธิบายการประยุกต์

ขั้นแรก ดาวบอกว่า อันนี้ก๊อบเลยนะ 

ตลาดขาขึ้นขั้นที่ 1 -- สะสมตัว
"ช่วงแรกของตลาดขาขึ้นมักจะไม่แตกต่างจากตลาดในช่วงขาลงแต่คนใหญ่ยังมองในแง่ลบและทำให้แรงขายยังคงชนะแรงซื้อในช่วงแรกของขาขึ้น ช่วงนี้จึงเป็นช่วงที่ไม่มีใครถือหุ้นประกอบกับไม่มีข่าวดี"


สรุปง่ายๆคือ อะไรๆ มันก็ไม่ดี  

ต่อมาตลาดเริ่มมีการสะสมตัว โดยการ ทำจุดต่ำสุดที่สูงขึ้นเรื่อยๆ 
และการแกว่งตัวน้อยลง

นี่เป็นการบอกเราว่าตลาดเริ่มสะสมตัว และในที่สุด  จุดสูงสุดใหม่ที่สูงกว่าเก่า นี่เป็นการเริ่มต้นเทรนขึ้นสักที (ตามฝั่งที่ 1)

ตลาดขาขึ้น -ขั้นที่ 2 -การเคลื่อนไหวครั้งยิ่งใหญ่

ดาวบอกว่า นี่เป็นเวลานานที่สุด และมีการปรับตัวสูงสุด ตลาดมีวอลุ่มเยอะที่สุด

นี่ก็ช่วงที่สองเลยครับ

ช่วงนี้คือช่วงที่กิจการทุกอย่างออกมาดีครับ เราลองไปย้อนดูปี 2010 ก็ได้ว่า มีการคาดการณ์ออกมาก่อน
และตามมาด้วยตัวเลขที่ดีมากๆ ของ การจ้างงาน รวมไปถึง GDP 

ต่อไป

ขั้นที่ 3 -- เกินมูลค่า

ตอนนี้ทุกอย่างจะดูแพงไปหมด ดาวบอกว่า ตอนนี้เป็นช่วงที่ทุกคนมีส่วนร่วม 
ตรงจุดนี้ก็คือจุดที่ใกล้จุดสูงสุดของฝั่งที่ 2 

ขั้นที่ 1 ของขาลง -- กระจาย

ตรงนี้เป็นจุดที่ทุกอย่าง over หมดแล้ว คือ เกินไปทุกอย่าง จุดนี้คือจุดสูงสุดของฝั่งที่ 2 

จะมีนักลงทุนที่ไหวตัวทันชิ่งออกก่อน เพราะเชื่อว่าทุกอย่างไม่ได้ดีอย่างที่คิดอีกต่อไปแล้ว

 และเมื่อมีการทำนิวโลต่ำลงมา ก็จะมีการเคลื่อนไหวครั้งใหญ่เกิดขึ้นตามมาเหมือนขั้นที่ 2 ของขาขึ้น

แต่สำหรับในกราฟนะครับ ตรงจุดที่ร่วงตุ๊บลงมานี้ คือจุดที่เคลื่อนไหวขาลงครั้งใหญ่ ตามเทฤษฏีดาว

เพียงแต่ว่า เป็นเพียงระยะสั้นๆ เช่น อาจจะมีการแก้ปัญหาที่ทันท่วงที นักลงทุนจึงกลับมาเชื่อมั่นอีกครั้ง

รวมไปถึง เทคนนิคคอล ที่ยังเชื่อในแนวโน้มขาขึ้นอยู่ทำให้ราคาดีดกลับขึ้นไปได้อีกครั้ง

วนลูปตามทฤษฏดีดาวเป๊ะๆ จึงมองได้ซ้อนกันอีกได้ว่า

เป็นเทรนซ้อนเทรนอีกที คือ เกิด primary อันใหม่เกิดขึ้น และเมื่อเป็นเช่นนั้นแล้ว การวัด fibo นั้น

ก็ต้องเริ่มวัดที่ primary เทรนอันใหม่ครับ 

หรือจะมองอีกแบบก็คือ ช่วงที่ 1 กับ 2 คือช่วงเดียวกันครับ โดยให้ ที่ร่วงของช่วงที่ 2 เป็นการพักฐานแทน

แล้วจากนั้น ราคาช่วงที่ 3  ก็จะกลายเป็น การเคลื่อนไหวครั้งใหญ่ในขั้นตอนที่ 2 ของแนวโน้มแทนครับ

ซึ้งเมื่อมองแบบนี้แล้ว ก็จะเห็นชัดขึ้นว่า ช่วงที่ 4 นั้น ค่อนข้างไซด์เวย์ และเกิดการทำไฮที่ต่ำลงมาเรือ่ยๆ 

เป็นการบอกว่า ขั้นตอนนี้ คือ ขั้นตอนของการกระจาย ในขั้นที่ 1 ของแนวโน้มขาลงก็ได้ครับ

เป็นไงบ้างครับสำหรับทฤษฏีดาว 
แค่ทฤษฏีเดียวสามารถทำให้เรามองตลาดได้กว้างขึ้น เข้าใจอารมณ์ตลาดได้มากขึ้นมากมาย
หวังว่าทุกอย่างนี้จะเป็นประโยชน์กับคนที่แวะเวียนมาอ่านเจอนะครับ

จบทฤษฏีดาวครับ


                                                                                                                                            Fx-terk







วันอังคารที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2555

~มาชำแหละทฤษฏีดาวกัน ตอนที่ 5 การใช้เทรนไลน์

การใช้เทรนไลน์หาแนวโน้มอย่างคร่าวๆนั้น

อย่างแรกเราต้องมอง HH HL LL LH คล่องแล้วเท่านั้น

จึงจะสามารถใช้เทรนไลน์ในการหาแนวโน้มของตลาดได้อย่างแม่นยำ 

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็เป็นเพียงอย่างคร่าวๆ 

ไม่ได้บอกว่าถ้าตัดขึ้นหรือลงแล้วจะเปลี่ยนเทรน

การขีดเทรนไลน์ในขาขึ้นมีวิธีดังนี้ 


เมื่อมีราคาทำนิวไฮ หรือ ทำไฮที่สููงกว่า LH เราจะรอมันย่อครับ

เราไม่สามารถขีดได้เลย เพราะยังไม่มี HL แล้ว HL จะเกิดได้ก็ต่อเมื่อ

ทำนิวไฮอีกครั้งนึง สรุปคือ ทำนิวไฮสองครั้ง ก็จะสามารถขีดเทรนไลน์ได้

และเริ่มต้นคาดการณ์เทรนขึ้นจากจุดนี้

เทรนหลักเรียกว่า major trend หรือเทรนใหญ่ ส่วนเทรนย่อยๆในนั้นเรียกว่า minor trend 

แต่เรายังสามารถใช้เทรนไลน์เป็น ชาแนล ในการเทรดได้

ชาแนลคือ ช่องเทรนไลน์คู่ขนานที่ก๊อบจาก จุดต่ำสุดที่สูงขึ้นสองอัน ไปวางไว้จุดสูงสุดแรก

ก็จะได้ชาแนลคร่าวๆ ไว้ดูแนวโน้ม ว่าตราบใดที่ราคาอยู่ในกรอบนี้ เราก็จะเล่นทางเดียว

(อันนี้ลองเอาแบบ line chart มาให้ดู ไม่เกี่ยวว่าต้องเป็นแบบแท่งเทียนเท่านั้น)



ส่วนของแนวโน้ม ดาวน์เทรน นั้น ก็หลักการเดียวกันในการขีด

คือต้องมีนิวโลสองครัั้ง ถึงจะเริ่มขีดจาก จุดสูงสุดที่ต่ำลงมาสองอัน ได้






วันจันทร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2555

~มาชำแหละทฤษฏีดาวกัน ตอนที่ 4 วอลุ่ม

จากทฤษฏีดาวบอกเราว่า

แนวโน้มมี 3 จังหวะ สมมขึ้น

จังหวะแรกคือ ข่าวการคาดการณ์ดีดี เริ่มทยอยปะโคมเข้ามา

จังหวะสอง คือ ข่าวดีเริ่มออกมาตามที่คาดไว้ วอลุ่มเริ่มเพิ่มขึ้น

จังหวะที่สามคือ เป็นจังหวะ วอลุ่มสูงที่สุด ผู้เล่นเยอะที่สุด การเก็งกำไรมากขึ้น

มันหมายความว่าการแกว่งตัวมาก วอลุ่มเยอะมากๆ และก็เป็นจังหวะระบายของของคนบางกลุ่ม

วอลุ่มเยอะ ไม่ได้หมายความว่า จำนวนตัวเลขของวอลุ่มเสมอไปนะครับ 

แต่เราสามารถดูระยะเวลาของวอลุ่มที่มันพุ่งขึ้นมาแล้วค้างไว้ได้ เช่นรูปนี้ 


จะเห็นว่า วอลุ่มก่อนเป็นเทรน(ก่อนวงกลมสีเหลืองอันแรก) 

มีการเพิ่มสูงขึ้น แต่ราคาก็ยังไม่ได้ชัดเจนอะไรนัก เป็นเพียงการคาดการณ์ในจังหวะที่ 1

และเมื่อตัวเลขที่ดีออกมาในจังหวะที่ 2 ก็เกิดการเข้าซื้อเก็งกำไรอย่างมากและรวดเร็ว

พอจังหวะที่สามนั้น วอลุ่มก็เพิ่มขึ้นอีกครั้ง แต่ก็จะสังเกตราคาแกว่งหักไปมาเล็กน้อย

แสดงให้เห็นถึงคนสองกลุ่มในตลาดอย่างชัดเจน เริ่มมีการขาย เริ่มมีการซื้อกันเกิดขึ้น

และสุดท้าย ตลาดก็กลับมาลังเลอีกครั้งในตัวเลขที่ออกมา ข่าวคาดการณ์ร้ายๆ เริ่มออกมา

ราคากลับมาไซด์เวย์อีกครั้ง และถ้าเลื่อนกราฟออกไปดู จะเห็นกราฟเป็นอย่างงี้


จะเห็นว่า ราคาไซด์เวย์ และสุดท้ายเกิด V-shape

ต้องเปิดกับ tf ใหญ่ขึ้นถึงจะเป็นเป็น V ชัดเจนขึ้น

 อย่างที่เคยสมมติฐานไว้ตอนที่ 1

ที่ดาวบอกว่า  การกลับตัวขึ้นไปอีกครั้งสุดท้ายนี้ จะรวดเร็วและรุนแรง 

คนที่ขาดทุนหรือซื้อในราคาที่สูงจะได้โอกาสทำกำไรครั้งสุดท้าย 

และเมื่อร่วงลงมาอีกครั้งแบบนี้ ก็ย่อมจะมีคนซื้อกลับกันเป็นธรรมดา 

และเมื่อรู้ว่า ข่าวโคมลอยนั้นไม่จริง ก็จะดีดกลับขึ้นไป นิวไฮ อีกครั้งตามทฤษฏดีที่พูดไว้

เราจะสังเกตอีกอย่างว่า ราคาที่ดีดขึ้นไปนิวไฮอีกครั้งนั้น ไม่มีวอลุ่มเกิดขึ้น

แสดงให้เห็นว่า นั่นไม่ใช่ราคาที่เกิดจากคนหมู่มาก

หากอาจะเกิดจากเงินก้อนใหญ่จากบางกลุ่ม ทำให้ราคาดีดตัวครั้งสุดท้าย ก่อนจะร่วงกราวลงมา

เรายังหากินกับดาว ได้อีกเยอะครับ แค่ทฤษฏีดาวทำให้เราอยู่ในตลาดได้อีกนานแสนนาน



~มาชำแหละทฤษฏีดาวกัน ตอนที่ 3 การพักตัว

การพักตัวของราคาตามที่ดาวได้พูดไว้คือ

 ระยะ secondary ที่กินระยะเวลากลางๆ 

เมื่อเทียบกับ primary > secondary > minor

แต่จะเรียกอีกอย่างว่า correction 

 เวลาไปได้ยินคำนี้เกี่ยวกับการลงทุน จะได้นึกออกนะครับว่าคืออะไร

แต่สิ่งที่นักลงทุนหน้าใหม่ๆ อาจจะสงสัยก็คือ

 มันคืออะไรและเกิดจากอะไร มาลองดูกันนะครับ

มีนักลงทุนไม่น้อยที่ชอบซื้อที่ราคาถูกๆ

ของแพงๆ ใครก็ไม่อยากซื้อจริงไหมครับ

เมื่อราคาขึ้นมามากแล้ว ผู้ที่ซื้อไว้ที่ราคาต่ำกว่านั้นอาจจะเกิดความกลัว

หรือต้องการทำกำไร ก็ทะยอยขายทำกำไร

 ทำให้ราคาปรับตัวลดลงมา พร้อมกับทำให้วอลุ่มลดลงมาด้วย

แล้วใครจะเป็นผู้ซื้อหุ้น ผู้ซื้อหุ้นก็คือคนที่ "คอยเฝ้า"

 หุ้นที่เคยเห็นราคาสูงๆอยากซื้อก็ไม่มีโอกาสได้ซื้อสักที

 ถ้าราคาปรับตัวลง ก็ค่อยๆ เข้าไปทะยอยซื้อ

 ถ้าราคาปรับตัวลงแรงมากไปกว่านั้น ส่วนมากก็คือ หยุดซื้อ

 มักจะไม่ค่อยตามลงไปซื้อเท่าไหร่ เมื่อเป็นเช่นนี้

ราคาก็ไม่สามารถปรับตัวลงไปอีกได้มาก (พร้อมกับโวลลุ่มการซื้อ/ขาย ที่ลดลง)

 เมื่อการซืื้อขายชะงัก ราคาไม่ขยับลงไปมากอีก เราก็เรียกได้ว่าการปรับฐาน

เมื่อนักลงทุนส่วนที่ได้กำไร ขายทำกำไรออกไปแล้ว

 ก็จะมีเงินในมือและหากเขาเห็นว่าสภาพเศรษฐกิจยังดี

หรือผลประกอบการต่างๆ น่าจะออกมาดี

 ก็จะกลับเข้ามาซื้อหุ้นด้วยเงินสดที่ได้จากการขายหุ้นเดิมที่ได้กำไรออกไป

คราวนี้ราคาก็จะกลับขึ้นมาอีกได้ ซี่งสิ่งนี้จะเกิดขึ้นได้

อีกกรณีในตลาดค่าเงินคือ เงินเฟ้อ เงินฝืด

คือเมื่อค่าเงินใดแข็งค่ามากๆ หรืออ่อนค่ามากๆ จะส่งผลกระทบโดยตรง

กับทุกอย่างในประเทศ ทำให้เกิดความมากเกินไปในทุกๆอย่าง

จึงเกิดความลังเล ก็อาจจะมีการขายออก หรือ ซื้อกลับเกิดขึ้น เรียกว่าปรับฐานก็ได้

การไซด์เวย์ ก็อาจเรียกว่าปรับฐานได้บางครั้ง

กรณีที่เกิดจากความไม่มั่นใจของนักลงทุน ทำให้ราคาเคลื่อนที่ในกรอบ

และเมื่อทุกอย่างชัดเจน ก็จะมีการเคลื่อนไหวตามผลที่ออกมาอีกครั้งนึง

 ทั้งหมดนี้ก็เรียกว่าการปรับฐานครับ



วันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2555

~มาชำแหละทฤษฏีดาวกัน ตอนที่ 2 การดูแนวโน้มแบบที่ 3

เมื่อเราเข้าใจแบบที่ 1 กับ 2 แล้ว
ก็ไม่ยากที่จะทำความเข้าใจกับแบบที่ 3 
ซึ่งเป็นแบบที่มองได้กว้างที่สุด 
และก็มีคนไม่น้อยที่มองแบบนี้
ลองดูภาพนี้ครับ


จากรูปจะเห็นวงกลมแดงๆ จุดนี้เป็นจุดยืนยันว่า
แต่ละแบบการดูจะให้นัยยะ ไม่เหมือนกัน
ถ้าเรามอง O-C  เราจะได้จุดต่ำสุดใหม่ทันที
แต่ถ้าหากมองแบบ H-L เราจะมองได้แค่กรอบไซด์เวย์เท่านั้น
ไม่มีอะไรถูกต้องที่สุดครับ

หัวข้อนี้จึงไม่มีอะไรมากเลย
ถ้าเข้าใจแบบที่ 1 กับ 2 แล้ว
ก็จบเรื่องของการมองแนวโน้มจาก

Higher High Lower Low Lower High ของราคาครับ

~มาชำแหละทฤษฏีดาวกัน ตอนที่ 2 การดูแนวโน้มแบบที่ 2

แบบที่สองนี้เราจะดูแค่ราคาเปิดกับราคาปิดเท่านั้นครับ
บางคนอาจจะใช้ Line Chart ในการมองก็ได้ ซึ่งกราฟจะเป็นลักษณะเส้นเดียว
จะกระดิก ดุกดิกๆ จนกว่าจะจบรอบของ TF นั้นๆ
ลักษณะการมองก็เหมือนกับแบบที่ 1 เพียงแค่เราตัดการแกว่งของราคาออกไป
อย่างเช่น ถ้าเปรียบเทียบว่าเอาแบบ 1 กับ แบบ 2 มาหาค่าเฉลี่ยแต่ละตัว
ระหว่าง H-L กับ O-C 
ค่าเฉลี่ยที่ได้ก็จะต่างกัน อาจจะมีต่างกันนักแต่ที่ต่างกันแน่ๆคือ
การกระจายของราคาของ H-L จะกระจายสูงกว่ามาก
ส่งผลให้บางครั้งเราก็ไม่แน่ใจ ว่าจะดูอะไรเป็นหลักระหว่าง H-L หรือแบบ O-C ดี

มาดูรูปแบบ up trend ก่อน


จากที่เห็นเราก็จะเห็นการทำ ไฮที่สูงขึ้นไปเรื่อยๆ และ โล ที่สูงขึ้นไปเรื่อยๆ
แบบนี้เรียกว่า up trend
ส่วนที่เราเห็น โลเวอร์โล หรือ โลที่ต่ำกว่าอันก่อนหน้า อันนี้ยังไม่สามารถตัดสินใจได้
ว่ากลับตัวเป็นแนวโน้มขาลงแล้ว เหตุผลเพราะว่า ไม่มีการทำ LH หรือ
ไฮที่ต่ำลงมา ตามมาด้วยนั่นเอง 
หลายคนไม่เข้าใจทฤษฏีดาว พอเห็นนิวโลปั๊บ ก็จะคิดว่ากราฟจะลงต่อ
แต่ไม่ได้มาโฟกัสทฤษฏีดาวจริงๆ ว่าดาวพูดอะไรไว้บ้าง
บางคนถึงกับเลือกเล่นสั้นๆตามอินดิเคเตอร์
หรืออะไรก็ช่าง
 แล้วให้เหตุผลว่า the trend is't friend in forex .

มาลองดูขาลงกันว่าดูยังไง

ก็จะมีการทำ โลต่ำมาเรื่อยๆ 
และทำ ไฮต่ำมาเรื่อยๆ
แต่เราจะเห็นกรอบที่ผมเขียนว่า Side way zone 
ตรงจุดนี้ มีการแกว่งของราคาเปิดกับปิด ทำสูงต่ำ แต่ไม่มีการทำ นิวไฮ หรือ นิวโลเกิดขึ้น
ก็จะเรียกตรงนี้ว่าไซด์เวย์
แต่ถ้าเราลองลด TF ดู เราก็อาจจะเห็นการทำราคาเป็นเทรนเล็กๆ เกิดขึ้นบน TF ใหญ่ก็ได้
ซึ่งเราต้องให้ความสำคัญเองว่า
เราจะเล่น TF ไหน ณ วินาทีนี้ เรามองอะไรอยู่

ถึงแม้เราจะเข้าใจเรื่อง HH,HL,LL,LH ดีแล้ว
แต่สิ่งนึงที่ไม่อาจคาดการณ์ได้นั้นคือ
เราจะเลือกรูปแบบไหนเป็นเกณฑ์ว่าแบบ 1 หรือแบบ 2 ดีที่เราควรใช้เทรด

เช่น

(สีเหลืองคือ H-L ; สีเขียวคือ O-C)

นี่คือความแตกต่างระว่างการดูแนวโน้มสองอัน
ถ้าแบบ H-L การแกว่งจะเยอะ ทำให้มีความละเอียดมากขึ้นเมื่อเทียบกับ O-C
แต่เราก็บอกไม่ได้ว่า แบบนี้ดีกว่าแบบนี้แน่ๆ



วันพฤหัสบดีที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2555

~มาชำแหละทฤษฏีดาวกัน ตอนที่ 2 การดูแนวโน้มแบบที่ 1

การดูแนวโน้มจากทฤษฏีดาวก็คือ การดู High กับ Low นั่นเองครับ

อย่างที่ดาวบอกไว้ว่า ถ้าแนวโน้มขาขึ้น
กราฟควรจะทำ จุดสูงสุดใหม่ สูงกว่าจุดสูงสุดเดิมขึ้นไปเรื่อยๆ
ตรงข้าม ขาลงก็เช่นกัน ทำจุดต่ำสุดใหม่ลงไปเรื่อยๆ
แต่คราวนี้ผมจะแบ่งออกไปเป็นสองกลุ่มหลักคือ

1. ดูจาก High Low ของ candle เลย 
2. ดูเฉพาะราคาเปิดปิดเท่านั้น (อันนี้เปลี่ยนเป็น Line Chart)
3. ดูแบบภาพกว้างๆ

มาเริ่มจากอันแรกก่อนครับ ดูแค่ H กับ L เท่านั้น


เราจะโฟกัสไปที่ ไฮ แล้วมาต่อ โล ของอีกแท่ง แล้วเพื่อการง่าย 
เราลองแยกแท่งเทียนออกจากกันดู ก็จะได้ด้านขวา
เราจะขีด ไฮ ไปต่อ โลของอีกแท่ง โดยไม่สนราคาเปิดหรือปิดเลย 
ก็จะเห็นอีกว่า เราสามารถขีดเทรนไลน์ได้อีกด้วย !
จุดสูงสุดทำนิวไฮไปเรื่อยๆแบบนี้
และจุดต่ำสุดสูงขึ้นเรื่อยๆ ตามทฤษฏีดาว
ดาวบอกเราว่าเป็นแนวโน้มของ อัพเทรน ครับ

ส่วนแนวโน้มของ ดาวน์เทรน
ดาวนอกเราว่า จะทำนิวโลไปเรื่อยๆ และจุดสูงสุดจะต่ำลงมาตามลำดับครับ
แบบนี้ดาวเรียกว่าแนวโน้มขาลง

ทีนี้หลายคนคงเคยเห็น inside bar ๆ มันคืออะไร
inside bar ก็คือ แท่งเทียนที่อยู่ภายใน high -> low ของแท่งก่อนหน้า
เราก็เอามาประยุกต์กับดาวได้เหมือนกัน
แน่นอนต้องเป็นเรื่องของการพักตัวของราคาที่ดาวกล่าวไว้ครับ
ปัจจุบันมีการต่อยอดมาเป็น pattern ต่างๆ ในที่นี้ยกตัวอย่าง continue pattern



เห็นอย่างงี้เดี่ยวจะคิดว่า จะเอาไปใช้กับกราฟจริงยังไง งั้นลองดูครับ




ชัดเจนนะครับ สำหรับแบบที่ 1 ดูจากสูงสุด ต่ำสุดเท่านั้น



วันพุธที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2555

~มาชำแหละทฤษฏีดาว ตอนที่ 1 แบบเข้าใจง่ายๆอีกรอบ

แบบนี้หลายๆคนคงเคยเห็นตามบอร์ดทั่วๆไปใช่ไหมครับ อันนี้ของคุณ kitty63 ในพันทิบเขียนไว้ครับ มาเริ่มกันเลย






จบแล้วสำหรับตอนที่ 1 ครับ เดี่ยวรอตอนที่ 2 ต้องใช้เวลารวบรวมข้อมูลนิดนึงครับผม

~มาเริ่มต้นชำแหละทฤษฏีดาวกันดีกว่า ตอนที่ 1

ผมจะเริ่มจากการตั้งสมมติฐานจากทฤษฏีของดาวทั้งหมด
 และสุดท้ายจะตามมาด้วยกราฟ
 เพื่อให้ beginner ที่เข้ามาใหม่เข้าใจการมองแนวโน้มมากขึ้นครับผม 


เริ่มด้วยบทความ ดาวเทอรี่ ของ อ.สุรชัยครับ 











จบสำหรับของ อ.สุรชัยแล้วครับ ต่อไปดูบทความที่อ่านเข้าใจง่ายๆ กว่านี้กัน