หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2555

Pips และ Symbols




เหตุผลที่ผมเขียนเรื่องนี้เพราะว่า ตามเวบยังอธิบายไม่เคลียร์ เยอะครับ สำหรับบีกินเนอร์ผมคิดว่า ก็ควรจะรู้ไว้ เพราะบางคน งง กับการคำนวน 


Pips และ Symbols

บางคนออกเสียง พิพ บางคนออกเสียง ปิป แต่ไม่ว่าออกเสียงยังไง มันก็คือ จุดทศนิยมที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น EUR/USD ที่ราคา

1.3000  เปลี่ยนแปลงไปเป็น 1.3005 จะเห็นว่าที่เปลี่ยนแปลงไปคือ 0.0005 หมายความว่า pips change คือ 5 pips และ 

EUR/USD ยังบ่งบอกเราอีกว่า เงิน EUR มีค่ามากกว่า USD 1.3 เท่า

ยกตัวอย่างสมการง่ายๆ   EURหารUSD = 1.3000    ------>   EUR  =  1.3000 USD   ก็คือ 1.3 เท่าของ USD นั่นเอง คู่เงินอื่นๆ ก็เหมือนกัน
กลับมาที่ pips ต่อ ในค่าเงิน EUR/USD  นั้น การเปลี่ยนแปลง 5 จุดข้างต้นมาจาก

EUR/USD มีจุดทศนิยมทั้งหมด 4 ตำแหน่ง หรือก็คือ 10-4  = 0.0001  นั่นเอง

เรานำทศนิยมมาหารด้วยราคา (ใส่หน่วยด้วยจะได้ไม่ งง )  0.0001euro หาร 1.3000dolla = 0.0000769 ยูโรต่อดอลล่า

สรุปง่ายๆก็คือ การเปลี่ยนแปลง 1 pips มีค่า 0.000077 ยูโรนั่นเอง แต่หากว่าปกติเรามักจะคุ้นเคยกับค่าเงิน ดอลล่ามากกว่า 

เราก็แค่เอา อัตราแลกเปลี่ยนตอนนั้นมาคูณซะ เพราะมันเป็นอัตราส่วนกันอยู่แล้ว ก็จะได้

 0.000077 x 1.3 = 0.0001 โดยประมาณ นั่นเอง

ยกตัวอย่างค่าเงินอื่นบ้าง

USD/JPY ที่  82.00     มีทศนิยม 2 ตำแหน่ง ก็เป็น  0.01 / 82.00 = 0.00012 ดอลล่า/เยน

เนื่องจากค่าที่ได้ออกมาเป็นดอลล่าอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องคูณ 82.00 ไม่งั้นจะเดี่ยวกลายเป็นเยนแทน

มาถึงตรงนี้ บางคนก็จะสงสัยว่า แล้วถ้าเป็น ตัวอื่นที่ไม่มี usd มาจับ จะทำไงให้เป็น ดอล เช่น EUR/JPY

101.00  ก็คือมีทศนิยม 2 ตำแหน่งใช่ไหม ก็เหมือนเดิม 0.01/101 = 0.0001 ยูโร/เยน โดยประมาณ จากนั้นเราก็จะได้เป็น

หน่วยยูโรมา เราก็ต้องไปดูอัตราแลกเปลี่ยนเงินตัวอื่นว่า ตัวที่มี EUR เป็นตัวเศษ แล้ว USD เป็นตัวหารตอนนั้นเป็นเท่าไหร่

เพราะว่า มัน 1:1.3 ไง ก็คือ 1.3 ดอลล่าถึงจะแลก 1 ยูโรได้ เพราะฉะนั้นถ้าเอา เงินยูโรตอนนั้นคูณ อัตราแลกเปลี่ยนซะ ก็จะ

กลายเป็นเงินดอลไปโดยปริยาย สมมติ 1.3000 ก็จะได้ 1.3 x 0.0001 = 0.0013 ดอลล่า นั่นเอง ถ้า งง ก็นึกถึงเงินบาท กับ 

เงินดอล เช่น USD/THB = 33.00 ก็คือ เงิน 33 บาทแลกได้ 1 ดอล เพราะฉะนั้น ถ้าเอา 33 นี้ไปคูณกับ ตัวอะไรก็ตามที่มีหน่วย

เป็น USD เราก็จะได้ค่าเงินหน่วยบาทมาเลย  ถ้า งง อยู่ก็... คงต้อง งง อ่ะ - -


วันเสาร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2555

Type Stop lose





หลายคนก็คงรู้จักว่า การ sl คืออะไร 

หลายๆคนก็ต้องผ่านกันมาอย่างแน่นอน โดยเฉพาะ beginner

การ sl ของผมจะแบ่งออกเป็น 3 ชนิด

1. normal stoplose
2. reversal stoplose
3. cut order


แบบที่ 1 คือการ sl แบบปกตินะครับ ก็เหมือนทั่วๆไป คือเราเทรดปกติ ถ้าผิดทางเราก็ตัดทิ้ง

แล้วรอเข้าใหม่เมื่อมีโอกาสตามสัญญาณจากระบบของเราอีกรอบ

แบบที่ 2 คือการ sl แล้วกลับตัวครับ

การ sl แล้วกลับตัวจะอาศัย เข้า order ที่จุดที่เราคิดว่าจะเปลี่ยนเทรนทันที เมื่อ order เรา sl

ยกตัวอย่าง เรา buy ไว้ใช่ไหมครับ แล้วราคาได้ลงมาต่ำกว่าจุดที่เราบาย และเราคิดว่า 

ราคาจะไม่ขึ้นอีกต่อไปแล้ว เราต้อง sl  พอเรา sl ปั๊บ เราจะไม่ปล่อยทิ้งไว้เหมือนอย่างแรก

ก็คือ เราจะทำการเปิดอีก order ทันที คือการ sell 

 โดยการ sell ของเราอาจจะเพิ่ม lots ในการเข้า เพื่อเอาทุนที่เสียของเรากลับคืนมา และ พร้อมกำไร

พูดให้เห็นภาพง่ายๆก็คือ การที่เราเทรดแบบนี้ ยังไงเราก็ไม่เสียตังค์ครับ

ถ้าเรามีระบบที่กลับตัวได้

เพราะว่า ไม่ว่าเราจะ sl กี่ครั้งเราก็จะได้เงินทุนของเราคืนเนื่องจากการกลับตัวทุกครั้ง

 การ sl แบบที่ 2 นี้จึง อิง กับระบบมาก 

แบบที่ 3 การตัดออเดอร์ทิ้ง  เช่น เราบาย แต่ราคาได้ลงมาต่ำเกินกว่าที่คิดไว้นิดหน่อย

เราก็อาจจะปิดไปก่อน แล้วรอ ลมพายุสงบ ค่อยเข้า บายอีกครั้งนึง แต่เพิ่ม lots ขึ้น

ถามว่ามันต่างจากการ sl อันแรกตรงไหน ต่างครับ

สำหรับคนที่ลง lots หนักๆ เราจำเป็นมากที่จะต้องเซพเงินไว้

แม้เราจะเชื่อว่ากราฟจะขึ้น หรือ จะลง แต่ตลาดจะมีการ extension เสมอ

 เราอาจจะใช้จุดนี้ในการควบคุมความเสี่ยงอีกวิธีได้ แต่แน่นอนว่า เราก็ต้องระวัง เพราะมันจะเป็นดาบสองคม หากเราตามอารมณ์ตลาดไม่ทัน